0
ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

ความเข้าใจใหม่ในต้นกำเนิดของภาษาของคนทั่วโลก

นักภาษาศาสตร์ได้ให้การยอมรับมานานแล้วว่าภาษาทั้งหลายตั้งแต่ภาษาอังกฤษ ภาษากรีก ไปจนถึงภาษาฮินดูหรือที่รู้จักกันดีในชื่อที่ว่า ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป* นั้นเป็นภาษาที่ชนรุ่นหลังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยบรรพกาลที่ถูกใช้ในการสนทนาทั่วๆ ไปเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ขณะนี้งานวิจัยล่าสุดได้ให้ข้อมูลกับพวกเรามากขึ้นถึงเวลาและสถานที่ที่มีแนวโน้มของการใช้ภาษาตระกูลนี้เป็นส่วนใหญ่

จากการอาศัยข้อมูลกว่า 150 ภาษา นักภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of California ที่เมือง Berkeley ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่าภาษาที่บรรพบุรุษได้เคยใช้นี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 5,500-6,500 ปีก่อน ในบริเวณที่ราบ Pontic-Caspian Steppe ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่อาณาเขตกว้างขวางจากสาธารณรัฐมอลโดวา และยูเครนไปจนถึงรัสเซียและคาซัคสถานฝั่งตะวันตก

คณะวิจัยประกอบด้วย Will Chang, Chundra Cathcart, David Hall, และ Andrew Garrett ซึ่งผลงานของพวกเขาจะเผยแพร่ในวารสาร Language ฉบับเดือนมีนาคม พวกเขาได้กล่าวว่า “การวิเคราะห์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของบรรพบุรุษที่ถูกจำกัดได้สนับสนุนสมมติฐาน Indo-European steppe hypothesis”

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

วารสารทางวิชาการฉบับนี้ได้การสนับสนุนสมมติฐาน "steppe hypothesis" หรือสมมติฐาน "Kurgan hypothesis" ที่ได้เสนอว่า ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรปนั้นได้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในช่วงการพัฒนาเกษตรกรรมทางด้านการทำปศุสัตว์ การทำฟาร์มเมื่อประมาณ 4,500 ถึง 3,500 ปีก่อนคริสตกาล (ในขณะที่ทฤษฎีทางเลือกได้เสนอว่าตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรปนี้ได้แพร่กระจายในช่วงต้นๆ ประมาณ 7,500 ถึง 6000 ปีก่อนคริสตกาล ในบริเวณที่ราบสูงกว้างใหญ่ระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือคาบสมุทรของ Asia Monor ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้)

Chang และคณะได้ศึกษาชุดคำศัพท์มากกว่า 200 ชุดจากภาษาในตระกูลอินเดีย-ยุโรปทั้งที่ใช้กันอยู่และภาษาที่ตายแล้วหรือไม่ใช้กันแล้วในปัจจุบันนี้ หลังจากการคำนวณหาว่า คำศัพท์เหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปได้รวดเร็วขนาดไหนในตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาด้วยแบบจำลองทางสถิติ พวกเขาได้สรุปว่า อัตราเร็วในการเปลี่ยนแปลงได้ชี้ให้เห็นว่า ภาษาเหล่านี้ที่คำศัพท์ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกได้เริ่มที่จะแตกต่างกันออกไปเมื่อประมาณ 6,500 ปีมาแล้ว ซึ่งมันเป็นไปตามสมมติฐานของ steppe hypothesis

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นวารสารทางวิชาการฉบับแรกที่มีการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณมาใช้ในการสนับสนุนสมมติฐาน steppe hypothesis และเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ต้นแบบร่วมกับข้อจำกัด "ancestry constraints" ซึ่งรวมเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาทั้งหลายที่ถูกค้นพบในอดีตได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น วิธีการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้กับการวิจัยในอนาคตเพื่อศึกษาถึงต้นกำเนิดของตระกูลภาษาอื่นๆ เช่น Afro-Asiatic หรือตระกูลภาษาแอฟโร-เอเชียติก (กลุ่มของภาษาที่ใช้กันแพร่หลายในแอฟริกาเหนือ และเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ภาษากลุ่มเซมิติก ภาษาอียิปต์ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ ภาษากลุ่มชาดภาษากลุ่มคูชิติก ภาษากลุ่มโอโมติก ภาษากลุ่มเบยา) และ Sino-Tibetan หรือ จีน-ทิเบต (ตระกูลภาษาที่ใช้ในจีนตอนกลาง ตอนล่าง ทิเบต เมียนมาร์ และอินเดียทางตะวันออกเฉียงเหนือ)

รายงานฉบับนี้จะถูกเผยแพร่ใน http://www.linguisticsociety.org/files/news/ChangEtAlPreprint.pdf

*ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลักๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน)

ที่มา www.sciencedaily.com/releases/2015/02/150218123429.htm



สามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : http://www.siamganoherb.lnwshop.com

เห็ดหลินจือแดงกาโน เห็ดหลินจือสกัดแคปซูล | SiamGanoHerb
ยาแคปซูลเห็ดหลินจือตราจีอี กาโนเห็ดหลินจือ 6 สายพันธุ์ ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ เห็ดหลินจือแดงกาโน สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ต้านอนุมูลอิสระ

แสดงความคิดเห็น

Dear readers, after reading the Content please ask for advice and to provide constructive feedback Please Write Relevant Comment with Polite Language.Your comments inspired me to continue blogging. Your opinion much more valuable to me. Thank you.