0
ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

ชี้ดวงจันทร์เกิดจากการชนครั้งใหญ่

เมื่อราว 150 ล้านปีหลังจากระบบสุริยะได้ถือกำเนิดขึ้น วัตถุขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารชนเข้ากับโลกอย่างจัง จนทำให้เศษก้อนหินและฝุ่นกระจายตัวไปสู่อวกาศอีกครั้ง และสุดท้ายก็เกิดการหล่มหลอมตัวกันกลายเป็นดวงจันทร์ของเรา

นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ใช้ความพยายามกว่า 30 ปีเพื่อหาคำอธิบายที่ถูกต้องของการกำเนิดดวงจันทร์ ข้อสมมติฐานว่า มีวัตถุขนาดใหญ่มาชนกับโลกก็ดูจะเป็นไปได้ถ้าเรามองที่ขนาดของดวงจันทร์และกลไกของการโคจรรอบโลก แต่จากหลักฐานการเปรียบเทียบไอโซโทปของดวงจันทร์กับโลกเพื่อดูร่องรอยดีเอ็นเอทางภูมิศาสตร์ กลับทำให้ข้อสมมติฐานนี้ดูน่าสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า โลกกับดวงจันทร์นั้นเหมือนกันเกินไป

นักวิทยาศาสตร์เคยคาดกันว่า ดวงจันทร์น่าจะมีองค์ประกอบที่แปลกประหลาดไปจากโลกพอสมควร และนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ตั้งชื่อวัตถุที่เข้ามาชนโลกจนกลายเป็นดวงจันทร์นี้ว่า ธีเอีย (Theia) เนื่องจากว่า ธีเอียนี้มาจากที่อื่นในระบบสุริยะ จึงน่าจะมีไอโซโทปของธาตุองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากโลกยุคแรก

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกาสามารถแกะร่องรอยไอโซโทปใหม่บนดาวอังคารที่อาจจะช่วยไขปริศนานี้ได้ โดยได้เสนอโมเดลการกำเนิดของดวงจันทร์ใหม่อธิบายเหตุการณ์ที่ร่องรอยไอโซโทปเหมือนกันได้ ผลจากการศึกษาชี้ว่า การชนของธีเอียกับโลกนั้นรุนแรงมาก จนกระทั่งชิ้นส่วนของเมฆนั้นผสมเข้าด้วยกันก่อนที่จะเสถียรและก่อขึ้นเป็นดวงจันทร์ในเวลาต่อมา โดยข้อเสนอนี้ได้รับการนำเสนอในวารสารวิชาการ Nature ออนไลน์แล้ว

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ

"ปัญหาก็คือว่า โลกกับดวงจันทร์นั้นเหมือนกันมากถ้าดูจากร่องรอยไอโซโทป ซึ่งบอกว่าทั้งสองดวงนี้น่าจะก่อตัวขึ้นมาจากวัสดุที่เหมือนกันช่วงแรกๆ ของประวัติศาสตร์ระบบสุริยะ"  ศาสตราจารย์ ริชาร์ด วอร์คเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์เผย

"ซึ่งก็น่าประหลาดใจมากเพราะว่า วัตถุขนาดเท่าดาวอังคารที่ก่อตัวขึ้นเป็นดวงจันทร์นั้นเราคาดว่า น่าจะแตกต่างกับโลกมาก ดังนั้น ปริศนาก็คือว่า โลกกับดวงจันทร์นั้นไม่ควรจะเหมือนกันมากอย่างที่เป็นอยู่"

ก่อนหน้านี้มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่ถูกเสนอขึ้น เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่โลกกับดวงจันทร์นั้นคล้ายกันมาก บางทีการชนกันอาจจะทำให้เกิดก้อนเมฆขนาดใหญ่ที่รวมตัวกันแล้วหล่อหลอมรวมตัวกลายเป็นดวงจันทร์อีกครั้งหนึ่ง หรือธีเอียอาจจะบังเอิญมีไอโซโทปคล้ายกับโลกเองก็เป็นได้  สมมติฐานที่เป็นไปได้อีกข้อคือ  ดวงจันทร์นั้นเกิดจากวัสดุจากโลกแทนที่จะเป็นธีเอีย และการชนประเภทนี้อาจจะเป็นการชนที่แปลกไปจากการชนปกติ

ศาสตราจารย์วอร์คเกอร์และทีมงานพยายามจะหาคำอธิบายที่เป็นไปได้จากประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของระบบสุริยะที่ได้มีการศึกษากันไว้ หลักฐานชี้ว่า ทั้งดวงจันทร์กับโลกนั้นรวบรวมเอาวัสดุชิ้นต่างๆ หลักจากที่เกิดการชนกันครั้งใหญ่ จากนั้นก็มีเศษหินและฝุ่นเข้ามาเสริม วัสดุใหม่ที่ว่านี้ประกอบมีทังสเตนจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนก็เป็นไอโซโทปที่เบากว่าที่ชื่อ ทังสเตน-182 นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่าหากกรณีนี้เป็นจริง โลกน่าจะมีทังสเตน-182 น้อยกว่าดวงจันทร์มาก

เมื่อทำการเปรียบเทียบตัวอย่างหินระหว่างโลกกับดวงจันทร์  ศาสตราจารย์วอร์คเกอร์และทีมงานจึงได้พบว่า ดวงจันทร์นั้นมีอัตราส่วนของทังสเตน-182 ที่มากกว่าโลกเล็กน้อย

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ข่าววิทยาศาสตร์ใหม่, ข่าววิทยาศาสตร์น่ารู้, ข่าววิทยาศาสตร์สั้นๆ, ข่าว  วิทยาศาสตร์ล่าสุด, ข่าววิทยาศาสตร์วันนี้, ข่าววิทยาศาสตร์ พร้อมรูป, ข่าววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ 

"เล็กน้อยก็จริง แต่ค่อนข้างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบไอโซโทปของทังสเตนบนโลกกับดวงจันทร์นั้นมีความสอดคล้องกับจำนวนของวัสดุที่โลกกับดวงจันทร์รวบรวมมาได้หลังเกิดการชนครั้งใหญ่ ซึ่งหมายความว่า ทันทีที่ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้น มันก็มีองค์ประกอบที่มีไอโซโทปเดียวกับชั้นแมนเทิลของโลกเลย"

การศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า วัสดุส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดการชนครั้งนี้ ที่กลายมาเป็นดวงจันทร์นั้นจะต้องผสมเข้าด้วยกันก่อนก่อนที่ดวงจันทร์จะรวมตัวและเย็นตัวลง การศึกษาครั้งนี้จึงสามารถอธิบายความเหมือนกันโดยทั่วไปของร่องรอยไอโซโทปบนโลกกับดวงจันทร์และความแตกต่างกันเล็กน้อยของทังสเตน-182 ของทั้งสองแห่งได้

นอกจากนี้ ยังทำให้สมมติฐานที่ว่า วัตถุขนาดเท่าดวงจันทร์นั้นมีองค์ประกอบคล้ายกับโลกมาตั้งแต่แรกต้องตกไป รวมทั้งแนวคิดที่ว่า ดวงจันทร์ก่อตัวมาจากวัสดุที่ก่อตัวมาเป็นโลกอีกที ต้องตกไปอีก เพราะแนวคิดทั้งสองนั้นไม่สอดคล้องกับความแตกต่างของทังสเตน-182 ที่พบและจำนวนของวัสดุที่โลกและดวงจันทร์เก็บมาได้หลังการชน

"ผลการศึกษาทำให้เราเริ่มจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงจันทร์แล้ว เรายังต้องทำงานเพื่อหาราละเอียดต่อไป แต่ก็แน่ชัดแล้วว่า ระบบสุริยะช่วงแรกๆ ของเรานั้นมีการชนที่รุนแรงมากจริง"

อ้างอิง: University of Maryland. (2015, April 8). Violent formation of the moon: New view. ScienceDaily. Retrieved April 12, 2015 from www.sciencedaily.com/releases/2015/04/150408133045.htm

งานวิจัย: Mathieu Touboul, Igor S. Puchtel, Richard J. Walker. Tungsten isotopic evidence for disproportional late accretion to the Earth and Moon. Nature, 2015; DOI:10.1038/nature14355



สามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : http://www.siamganoherb.lnwshop.com

เห็ดหลินจือแดงกาโน เห็ดหลินจือสกัดแคปซูล | SiamGanoHerb
ยาแคปซูลเห็ดหลินจือตราจีอี กาโนเห็ดหลินจือ 6 สายพันธุ์ ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ เห็ดหลินจือแดงกาโน สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ต้านอนุมูลอิสระ

แสดงความคิดเห็น

Dear readers, after reading the Content please ask for advice and to provide constructive feedback Please Write Relevant Comment with Polite Language.Your comments inspired me to continue blogging. Your opinion much more valuable to me. Thank you.